วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2563

ประยุกต์ใช้ในงานสาธารณสุขและการแพทย์

เทคโนโลยีทางการแพทย์ ประยุกต์ใช้ในงานสาธารณสุขและการแพทย์ 
เทคโนโลยีสารสนเทศได้รับการนำมาใช้ในการพัฒนา ด้านสาธารณสุขอย่างกว้างขวาง และทำให้งานด้าน สาธารณสุขเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยกระทรวงสาธารณสุข ได้ปรับระบบการบริหารงาน และนำเทคโนโลยี สารสนเทศมาใช้ในงานต่างๆ ดังนี้




รูปแสดงการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในวงการสาธารณสุขและการแพทย์
 ด้านการลงทะเบียนผู้ป่วย ตั้งแต่เริ่มทำบัตร จ่ายยา เก็บเงิน
 การสนับสนุนการรักษาพยาบาล โดยการเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาล ต่างๆ เข้าด้วยกัน สามารถสร้างเครือข่ายข้อมูลทางการแพทย์ แลกเปลี่ยนข้อมูลของผู้ป่วย
 สามารถให้คำปรึกษาทางไกล โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชำนาญ เทคโนโลยีสารสนเทศ จะช่วยให้แพทย์สามารถเห็นหน้า หรือท่าทางของผู้ป่วยได้ ช่วยให้ส่งข้อมูลที่เป็นเอกสาร หรือภาพเพื่อประกอบการพิจารณาของแพทย์ได้
 เทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยในการ ให้ความรู้แก่ประชาชนของแพทย์ หรือหน่วยงานสาธารณสุขต่างๆ เป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว ได้ผลขึ้น โดยสามารถใช้สื่อต่างๆ เช่นภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวมีเสียงและอื่นๆ เป็นต้น

 เทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยให้ผู้บริหารสามารถกำหนดนโยบาย และติดตามกำกับการดำเนินงานตามนโยบายได้ดียิ่งขึ้น โดยอาศัยข้อมูลที่ถูกต้องฉับไว และข้อมูลที่จำป็น ทั้งนี้อาจใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวเก็บข้อมูลต่างๆ ทำให้การบริหารเป็นไปได้ด้วยความรวดเร็ว ถูกต้องมากยิ่งขึ้น
 ในด้านการให้ความรู้หรือการเรียน การสอนทางไกล เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะดาวเทียม จะช่วยให้การเรียนการสอนทางไกล ทางด้านการแพทย์และสาธารณะสุข เป็นไปได้มากขึ้นประชาชนสามารถเรียนรู้พร้อมกันได้ทั่วประเทศและ ยังสามารถโต้ตอบหรือถามคำถามได้ด้วย




การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในด้านการแพทย์ หมายถึง วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์ในด้านการแพทย์ เช่น การตรวจ การรักษาพยาบาล และการป้องกันโรค ด้วยวิธีการต่าง ๆ ได้แก่

1. การพัฒนาเครื่องมือและอุปกรณ์ โดยอาศัยความรู้ด้านวิศวกรรมเป็น หลักในการผลิตเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง เช่น
1.1 เพื่อการตรวจและวินิจฉัยโรค เครื่องเอกซเรย์ เครื่องโทโมกราฟีแบบคอมพิวเตอร์เครื่องถ่ายภาพแบบนิวเคลียร์แมกนิติกเร โซแนน์อิมเมจเครื่องถ่ายภาพโดยเรดิโอกราฟฟี เครื่องอุลตราซาวด์ เครื่องตรวจการทำงานขอหัวเครื่องตรวจการรับฟังเสียง
1.2 เพื่อการรักษาพยาบาล มีดผ่าตัดเลเซอร์ เครื่องกรอคราบหินปูนที่ฟันโดยคลื่นเสียงความถี่สูง เครื่องนวดคลายความเมื่อยล้าโดยคลื่นเสียงความถี่สูง เครื่องฉายรังสี เครื่องควบคุมการให้ออกซิเจนในระหว่างการผ่าตัด เครื่องกระตุ้นการทำงานของหัวใจ แว่นตา คอนแทกเลนส์- การสร้างอวัยวะเทียม
1.3 เพื่อการป้องกันโรค เตาอบและตู้อบฆ่าเชื้อ การใช้รังสี เครื่องฉายรังสี อุปกรณ์สำรหับการสวมครอบหรือสอดใส่เข้าไปในรูหู
2. การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการผลิตยา สาร หรือวิธีการที่ใช้ในทางการแพทย์ ในการพัฒนาบางครั้งต้องอาศัยเทคโนโลยี เทคนิค และวิธีการต่างๆ เช่น เทคโนโลยีชีวภาพ และเทคนิคทางด้านวิศวกรรม ได้แก่ การพัฒนาวิธีการเพาะเลี้ยงเชื้อซึ่งเก็บตัวอย่างมาจากผู้ป่วย การสร้างเด็กหลอดแก้ว การหาสาเหตุและการรักษาโรคที่เกิดจากความบกพร่องทางพันธุกรรม อุตสาหกรรมการผลิตยา การผลิตเซรุ่ม การผลิตวัคซีนป้องกันโรค




เครื่องเอกซเรย์ระบบดิจิตอลสมบูรณ์
          การถ่ายภาพทางรังสีถือเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยวินิจฉัยโรคต่างๆ ของแพทย์ทุกคน แต่เดิมการ ถ่าย ภาพทางรังสีจะเป็นการใช้รังสีเอกซเรย์ ฉายผ่านตัวผู้ป่วยไปตกกระทบกับแผ่นฟิล์มโดย ตรง แล้วจึงนำไปล้าง เป่าให้แห้ง ก่อนได้ภาพเอกซเรย์เพื่อส่งให้รังสีแพทย์หรือแพทย์เจ้าของไข้ใช้ในการวินิจฉัยโรค
          ในปัจจุบัน ได้มีการคิดค้นเทคโนโลยีใหม่โดยการนำระบบคอมพิวเตอร์ทางการแพทย์ มาประยุกต์ ใช้ร่วมกับชุด รับภาพแบบดิจิตอล ( Digital Detector ) เพื่อสร้างภาพอย่างรวดเร็ว มีความแม่นยำ เห็นภาพเอกซเรย์ได้ทันทีหลังฉายรังสี ทำให้เจ้าหน้าที่หรือแพทย์ลดเวลาในการรอผล เพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการให้บริการของเจ้าหน้าที่และแพทย์




ข้อดีของเครื่องเอกซเรย์ระบบดิจิตอล
          1.  ลดปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับ
          2.  ภาพที่ได้มีคุณภาพดี มีความชัดเจน และมีเทคนิคพิเศษเพื่อช่วยในการวินิจฉัยได้แม่นยำ
          3.  สามารถทำการตรวจผู้ป่วยได้ในปริมาณมาก
          4.  ลดเวลาในการรอภาพเอกซเรย์
          5.  ลดอัตราการถ่ายซ้ำ
          6.  ลดต้นทุนในการซื้อวัสดุสิ้นเปลือง
อ้างอิง https://sites.google.com/site/rayartistan13/thekhnoloyi-sarsnthes-dan-kar-phaethy

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น