วันอังคารที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2563

เทคโนโลยีกับการพยาบาล

ประเด็นและแนวโน้มในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางการพยาบาล


  • ประโยชน์ของสารสนเทศทางการพยาบาล

ด้านบริหาร : ช่วยจัดระบบ และการตัดสินใจ ประเมินประสิทธิผลการพยาบาล
ด้านบริการ : จัดระบบการบริการผู้ป่วย (ICNP, Nanda, NIC, NOC) รวดเร็ว
ด้านวิชาการและงานวิจัย : จัดระบบข้อมูล การนำเสนอ การบริการวิชาการ

  • รูปแบบสารสนเทศทางการพยาบาล แบ่งเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้

1. สำหรับให้การพยาบาลผู้ป่วยโดยตรง เมื่อผู้ป่วย/ญาติ มารับบริการ
- ระบบฐานข้อมูล เช่น ประวัติผู้ป่วย ทางเวชระเบียน
- ระบบเครือข่ายสื่อสาร เช่น e- document, intranet, e-mail
2. สำหรับให้การพยาบาลผู้ป่วยทางอ้อม เพื่อพัฒนาคุณภาพบริการ
- ฐานข้อมูลที่เกี่ยวกับผู้ป่วย และการพยาบาล
- ระบบเครือข่ายทางการพยาบาล
- ระบบปัญญาเทียม เช่น โปรแกรมช่วยสอนความรู้ (CAI : Computer Assisted Instruction) หรือสาระที่เกี่ยวกับสุขภาพสำหรับพยาบาล และผู้ที่มารับบริการ

  • ทิศทางการพัฒนาสารสนเทศทางการพยาบาล

- พยาบาลสารสนเทศ และพยาบาลเพิ่มสมรรถนะด้านการใช้เทคโนโลยีและการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำมาใช้ประโยชน์
- ระบบสารสนเทศทางการพยาบาลที่เชื่อมโยงในแต่ละระดับของข้อมูล (หน่วยงาน โรงพยาบาล จังหวัดส่วนกลาง)
- การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในระบบการปรึกษางานการพยาบาล ทั้งระบบพยาบาลปรึกษาพยาบาลเฉพาะทาง และระบบผู้ป่วย/ประชาชนปรึกษาพยาบาล
- การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประโยชน์ให้ประชาชนได้มีโอกาสเข้าถึงข้อมูลด้านการพยาบาลเพิ่มมากขึ้น
- นวัตกรรมด้านสารสนเทศทางการพยาบาลมากขึ้น
  •  ระบบสารสนเทศทางการพยาบาล (Nursing information system: NIS)

      เป็นระบบสารสนเทศย่อยภายใต้ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล แบ่งเป็น 4 ประเภท ดังนี้
1.งานปฏิบัติทางการพยาบาล
2.งานบริหารทางการพยาบาล
3.งานวิจัยทางการพยาบาล
4.งานการศึกษาทางการพยาบาล
5.งานบริหารทางการพยาบาล
               เป็นการใช้สารสนเทศมาช่วยในการสนับสนุนการตัดสินใจในการทำงานทุกขั้นตอน เช่น การจำแนกกลุ่มผู้ป่วย ประเภทผู้ป่วย การจัดอัตรากำลัง งานบริหารงานบุคคล อัตราเงินเดือน การเงิน งบประมาณ
  •  ระบบข้อมูลทางการพยาบาล

        เมื่อพยาบาลให้การดูแลผู้ป่วย ควรมีการจัดเก็บข้อมูลทางการพยาบาลไว้ในคอมพิวเตอร์อย่างเป็นระบบเพื่อนำมาใช้ในการวางแผนในการให้การพยาบาล
        เพื่อนำข้อมูลที่บันทึกมาวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้น แนวโน้มของการเกิดปัญหา (เรื่องของระบาดวิทยา) เพื่อพัฒนาคุณภาพการให้การพยาบาลเป็นการเก็บข้อมูลไปเรื่อย ๆ และมีการนำข้อมูลกลับมาใช้เป็น    ระยะๆICNPRคือระบบการประสมประสานคำสำหรับการปฏิบัติพยาบาล(การวินิจฉัย,กิจกรรมการพยาบาลและผลลัพธ์ทางการพยาบาลที่จะเอื้อต่อการcrossmapคำต่างๆทางการพยาบาลในทุกระบบจำแนกที่มีอยู่และคำท้องถิ่น

ICNPR   ประกอบด้วย
       1.ระบบจำแนกข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล Nursing Phenomena
       2. ระบบจำแนกกิจกรรมการพยาบาลNursing Actions or Nursing Interventions
       3. ระบบที่จำแนกผลลัพธ์ทางการพยาบาล Nursing Outcomes


ด้านการพยาบาล
       การนำระบบสารสนเทศมาใช้ในการวางแผนการพยาบาล การบันทึกทางการพยาบาล การจัดทำมาตรฐานทางการพยาบาล และการวินิจฉัยอาการของผู้ป่วยจะช่วยให้พยาบาลสามารถตัดสินใจทางคลินิกได้รวดเร็วแม่นยำขึ้น และสามารถให้กิจกรรมการพยาบาลแก่ผู้ป่วยได้อย่างมีมาตรฐานครอบคลุมตรงตามปัญหา และความต้องการของผู้ป่วยช่วยพยาบาลในการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาและสามารถประเมินผลการพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดงานที่ซ้ำซ้อนทำให้พยาบาลมีเวลาในการดูแลผู้ป่วยมากขึ้น การดูแลมีคุณภาพ ผู้ป่วยหายเร็วขึ้น ลดค่าใช้จ่าย และลดระยะเวลา ในการพักรักษาตัวในโรงพยาบาลผู้ป่วยเกิดความพึงพอใจในด้านการสอนผู้ป่วย ระบบสารสนเทศจะช่วยให้ผู้ป่วยได้มองเห็น และเข้าใจได้มาก
        มีการนำเอาระบบสารสนเทศเข้ามาประยุกต์ใช้ในการพยาบาล    ไม่ว่าจะเป็นการนำมาประยุกต์ใช้ทางคลินิก   ซึ่งในการประเมิน  เฝ้าระวัง  สังเกตอาการ  และบันทึกข้อมูลผู้ป่วย    การประยุกต์ในชุมชน เช่น ระบบที่มีการควบคุม   การส่งข้อมูลเกี่ยวกับการเกิดโรค  การะบาดของโรคต่างๆ   การใช้ระบบสารสนเทศในการบริหารพยาบาล  หรือ  ใช้ในการทำวิจัยทางการพยาบาล   จากตัวอย่างที่ได้กล่าวมาข้างต้น   จะเห็นได้ว่าระบบสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทในแทบทุกๆภาคส่วนในงานด้านการพยาบาล   จึงเป็นเหตุผลว่าแนวโน้มในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางการพยาบาลนั้นเพิ่มขึ้น      จึงมีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องมีการพัฒนาด้านระบบสารสนเทศทางการพยาบาลให้มีความทันสมัย    และรองรับกับนำมาใช้ในการปฏิบัติงานด้านการพยาบาล

  • ประเด็นและแนวโน้มการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางการพยาบาล

ตัวอย่างเช่น การใช้เทคโนโลยี Google Hangout เพื่อการรักษาผ่านระบบทางไกล
      กระแสการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีในสังคมโลกปัจจุบันนั้นมีการเปลี่ยน แปลงอย่างรวดเร็ว อันเนื่องมาจากความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ซึ่งจะเห็นได้ว่าประชาชนในแต่ละประเทศสามารถรับทราบข้อมูลข่าวสารของอีก ประเทศหนึ่งได้อย่างรวดเร็วผ่านทางสื่อเทคโนโลยีและอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ ในปัจจุบันระบบเทคโนโลยีสารสนเทศถือเป็นสิ่งสำคัญสาหรับผู้บริหารที่จะใช้ใน กำหนดนโยบาย วางแผนปฏิบัติงาน และเป็นเครื่องมือสาคัญที่ช่วยให้ผู้บริหารแก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
      สำหรับระบบบริการทางด้านสาธารณสุขนั้น มีการนาเทคโนโลยี สารสนเทศมาใช้ในระบบบริหารและบริการอย่างกว้างขวาง ในรูปแบบที่แตกต่างกันไป เช่น เวชระเบียน ข้อมูลยา การตรวจวินิจฉัย การรักษาพยาบาล และการคิดค่ารักษาพยาบาล เพื่อช่วยลดงานที่ซ้าซ้อน ประหยัดเวลา และลดค่าใช้จ่าย ในการเดินทางของผู้รับบริการ (วีณา จีระแพทย์,2544)  ซึ่งการนาความรู้ทางด้านการพยาบาลและด้านการแพทย์เข้ามาผสมผสานกับเทคโนโลยี ในในกระบวนการดูแลสุขภาพของประชาชนเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการทางานของบุคลากรในระบบสุขภาพ (รุจา ภู่ไพบูลย์ และ เกียรติศรี สาราญเวชพร2544 : 2) ดังนั้น การนาเทคโนโลยี Google Hangout มาใช้ในการรักษาผ่านระบบทางไกล เพื่อเพิ่มอัตราการรอดชีวิตและเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนที่อยู่ห่างไกล ขาดแคลนแพทย์และพยาบาลที่เชี่ยวชาญ และเพื่อให้เกิดประสิทธิผลมากที่สุด ต้องออกแบบระบบมาให้เข้าใจได้ง่าย สะดวกสบายแก่ผู้ใช้บริการ เพื่อลดอุปสรรคของการนาระบบนี้มาใช้ และภาครัฐควรสนับสนุนให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาล การดูแลและการให้บริการสุขภาพผ่านระบบทางไกล ที่มีต้นทุนต่อไปในอนาคต
ความหมายของการรักษาผ่านระบบทางไกล
      การรักษาผ่านระบบทางไกล เป็นการให้บริการทางการแพทย์ทางไกลผ่านข้อมูลภาพและเสียง ซึ่งจะมีเรื่องของการตรวจร่างกาย การวินิจฉัยโรค และการรักษาผู้ป่วยที่อยู่ที่ห่างไกลจากโรงพยาบาลได้อย่างถูกต้องและทันท่วง ที และลดจานวนผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลลง เช่น การตรวจด้วยเครื่องวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ หรือ เครื่องตรวจสมรรถภาพของปอด หรือ ระบบการจัดการก่อนมาโรงพยาบาล
      การรักษาผ่านระบบทางไกลสรุป คือ จัดให้บริการด้านสาธารณสุขแก่ประชาชนที่อยู่ห่างไกลโดยบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ ทางการแพทย์ อาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ต่อการวินิจฉัย การรักษา การป้องกันโรค ฟื้นฟูสุขภาพของประชาชน และเพื่อประโยชน์สำหรับการศึกษาต่อเนื่องของบุคลากรทางการแพทย์
ลักษณะการใช้งานของการรักษาทางไกล
        การเกิดขึ้นของเทคโนโลยีแบบไร้สาย และเทคโนโลยี mobile  ต่างๆในปัจจุบัน ทั้ง 3G, 4G  และอุปกรณ์ mobile mobile mobile mobile ต่างๆ เอื้ออานวยต่อการพัฒนาการรักษาผ่านระบบทางไกล ให้ก้าวไกลและสะดวกยิ่งขึ้น ทาให้การสาธารณสุขที่ดีให้เข้าถึงประชาชนทุกพื้นที่ ซึ่งสามารถแบ่งการรักษาทางไกลได้ 4 มิติ คือ (American Telecommunication Association , 2006)
 - การให้คำปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญจะให้คาปรึกษาหรือวินิจฉัยสุขภาพโดยการพูดคุยและสอบถามอาการผู้ ป่วยผ่านกล้องวิดีโอ หรืออาจรส่งข้อมูลสัญญาณชีพ ภาพ หรือวิดีโอ ของผู้ป่วย มายังผู้เชี่ยวชาญเพื่อใช้ประกอบการวินิจฉัย
- การเฝ้าระวัง สุขภาพที่บ้าน โดยการนาอุปกรณ์ตรวจวัดต่างๆ ไปติดตั้งที่บ้าน เช่น สัญญาณคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ความดันโลหิต การเต้นของหัวใจ ผลการตรวจวัดสุขภาพจากอุปกรณ์ที่ติดตั้งจะถูกส่งมายังศูนย์เฝ้าระวังหรือโรง พยาบาล ถ้าสัญญาณชีพที่ส่งมามีความผิดปกติก็จะแจ้งให้ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาโดย ทันที
- การให้ข้อมูลสุขภาพ เป็นระบบที่ให้บริการสอบถามความรู้เรื่องสุขภาพ หรือให้คาปรึกษาโรค โดยผู้ใช้สามารถสืบค้นข้อมูลโดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือปรึกษาออนไลน์กับผู้เชี่ยวชาญ
- การเรียนรู้ทางการแพทย์ เป็นแหล่งเรียนรู้และเผยแพร่ความรู้ให้กับแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ รวบรวมความรู้ เช่น บทความ ภาพทางการแพทย์ ผู้ใช้สามารถสืบค้นข้อมูลหรือเผยแพร่ข้อมูลความรู้เพื่อประโยชน์ด้านการศึกษา
ความเป็นไปได้ในการนำการรักษาผ่านระบบทางไกลมาใช้ในประเทศไทย
        สำหรับการนำวิธีการรักษาผ่านระบบทางไกลมาใช้ดูแลสุขภาพของประชาชนในประเทศ ไทย จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพ และเพิ่มคุณภาพชีวิตของประชาชน ซึ่งปัจจุบันพบว่าอาจมีอุปสรรคหลายประการที่ทาให้ยังไม่สามารถนามาใช้ได้ อย่างครอบคลุมทุกพื้นที่ในปัจจุบันได้ เนื่องด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่ยังไม่เพียงพอ เช่น การขาดแคลนบุคลากรทางด้านการแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ ไม่มีการสนับสนุนด้านงบประมาณจากรัฐบาล และการขาดแคลนเทคโนโลยีที่ใช้ในการดูแลสุขภาพของประชาชน แต่ปัจจุบัน กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายพัฒนาระบบการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูล เช่น ข้อมูลสิทธิ ตามระบบประกันสุขภาพข้อมูลระบบการเงินการคลัง ข้อมูลรายงานต่างๆทางด้านสาธารณสุข เพื่อการบริหารจัดการระบบการประชุมแบบVideo Conferences ระบบโทรทัศน์ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ให้ความรู้ทางด้านสาธารณสุขแก่ประชาชน การปรึกษาแพทย์ทางไกล
สรุป
         การนำเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยและเอื้อต่อการรักษามาใช้ จะสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการรักษาผ่านระบบทางไกลโดยใช้เทคโนโลยี Google Hangout ก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่เพิ่มเข้ามาจากการรักษาแบบเดิม และนับเป็นปรากฏการณ์ที่สาคัญอย่างยิ่งที่ประเทศไทยได้นาระบบการบริการ สุขภาพที่สะดวก ทันสมัย และก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านสุขภาพแก่ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล โดยไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทางไปโรงพยาบาล และไม่ต้องเสียรายได้จากการหยุดงาน ซึ่งประชาชนได้รับการช่วยเหลือออย่างมีประสิทธิภาพเป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิต ให้กับคนในชนบท นาไปสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป

ที่มา : 
        Kulrattanamaneeporn S, Tuntideelert M and Gerald J. Kost. Using Telemedicine with Point-of-Care Testing to Optimize Healthcare Delivery in Thailand. In Press. 2006.
        Marcelino I, Barroso J, Cruz JB, Pereira A, editors. Elder Care Architecture. Systems and Networks   Communications, 2008 ICSNC 3rd International Conference on; 2008.
Narong Kasitipradith. Telemedicine project. Bangkok: Ministry of Public Health. Narong.1996.
        http://moodle.isle.ac.nz/mod/book/tool/print/index.php?id=6323

วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2563

เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานทางด้นวิทยาศาสตร์และการแพทย์ สวัสดีครับทุกท่านวันนี้พบกับทีมงานหมอหมีพาเพลินที่จะพาทุกท่านไปเรียนรู้เกี่ยวกับ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์นะครับ ขอให้ทุกท่านเชิญรับชม ได้เลยครับ

เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์
เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์

1.ความหมายความสำคัญ
        เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้เริ่มต้นแต่การทำทะเบียนคนไข้ การรักษาพยาบาลทั่วไป ตลอดจนการวินิจฉัยและรักษาโรคต่างๆ ได้อย่ารวดเร็วและแม่นยำ นอกจากนี้ยังใช้ในห้องทดลอง การศึกษาและการวิจัยทางการแพทย์ รักษาคนไข้ด้วยระบบการรักษาทางไกลตลอดเวลาผ่านเครือข่ายการสื่อสาร เครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า อีเอ็มไอสแกนเนอร์ ( EMI scanner ) ถูกนำมาใช้ถ่ายภาพสมองมนุษย์เพื่อตรวจหาความผิดปกติในสมอง เช่น ดูเนื้องอกพยาธิเลือดออกในสมอง และต่อมาได้พัฒนาให้ถ่ายภาพหน้าตัดได้ทั่วร่างกาย เรียกชื่อว่า ซีเอที ( CAT-Computerized Axial Tomography scanner: CAT scanner ) ใช้วิธีฉายแสงเป็นจังหวะไปรอบๆ ร่างกายของมนุษย์ ถ่ายเอ็กซเรย์และเครื่องรับแสงเอกซเรย์ที่อยู่ตรงข้ามจะเปลี่ยนแสงเอ็กซเรย์ให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าเก็บไว้ในจานแม่เหล็ก จากนั้นจะนำสัญญาณไฟฟ้าเหล่านี้เข้าไปวิเคราะห์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ และแสดงผลลัพธ์เป็นภาพทางจอโทรทัศน์หรือพิมพ์ภาพออกมาทางเครื่องพิมพ์ ตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมนด้านการแพทย์และสาธารณสุข 
หลักการและเหตุผล
  เนื่องจากการบริหารจัดการระบบสารสนเทศนั้นมีบทบาทอย่างยิ่งต่อการ บริหารจัดการและพัฒนาองค์กรในทุกภาคส่วน ในวงการสาธารณสุขและวงการแพทย์ก็เช่นกันระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้โรงพยาบาล หรือสถาบันทางการแพทย์สามารถพัฒนาไปสู่เป้าหมายที่ต้องการได้อย่างมี ประสิทธิภาพโดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการและการให้บริการ และภายใต้ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศนี้ สิ่งสำคัญที่จะช่วยกำหนดแนวทางการพัฒนา คือ รูปแบบการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ การพัฒนาทักษะของบุคลากร และการบริหารการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีสารสนเทศนอกจากนี้การอบรมด้านการบริหารจัดการระบบสารสนเทศของโรงพยาบาลยังถือเป็น เรื่องใหม่ที่ไม่เคยมีการจัดมาก่อนในสถาบันอื่น
             

วัตถุประสงค์   
  1. เพื่อพัฒนาผู้บริหารโรงพยาบาลให้สามารถ 
  2. วางพื้นฐานแนวคิดทางด้านการบริหารระบบสารสนเทศในโรงพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ      
  3. เข้าใจองค์ประกอบที่ต้องคำนึงถึงในการบริหารและวางระบบสารสนเทศในโรงพยาบาลอย่างครบถ้วน
  4. กำหนดแผนกลยุทธ์และแผนสนับสนุนกลยุทธ์ทางด้านระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศได้                                                                                                                                                          
        การประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน ได้มีการนำมาใช้ในหลายสาขาวิชาชีพ ทั้งในด้านการศึกษา ด้านธุรกิจอุตสาหกรรม ด้านการแพทย์ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ การทำงาน การศึกษาหาความรู้ ทำให้คุณภาพชีวิตของคนในสังคมปัจจุบันดีขึ้น

    2. ประเภทหรือชนิดเทคโนโลยีสารสนเทศ
        เทคโนโลยีสารสนเทศได้รับการนำมาใช้ในการพัฒนา ด้านสาธารณสุขอย่างกว้างขวาง และทำให้งานด้าน สาธารณสุขเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยกระทรวงสาธารณสุข ได้ปรับระบบการบริหารงาน และนำเทคโนโลยี สารสนเทศมาใช้ในงานต่างๆ ดังนี้ 
รูปแสดงการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในวงการสาธารณสุขและการแพทย์
ด้านการลงทะเบียนผู้ป่วย ตั้งแต่เริ่มทำบัตร จ่ายยา เก็บเงิน
 -
การสนับสนุนการรักษาพยาบาล โดยการเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาล ต่างๆ เข้าด้วยกัน สามารถสร้างเครือข่ายข้อมูลทางการแพทย์ แลกเปลี่ยนข้อมูลของผู้ป่วย
สามารถให้คำปรึกษาทางไกล โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชำนาญ เทคโนโลยีสารสนเทศ จะช่วยให้แพทย์สามารถเห็นหน้า หรือท่าทางของผู้ป่วยได้ ช่วยให้ส่งข้อมูลที่เป็นเอกสาร หรือภาพเพื่อประกอบการพิจารณาของแพทย์ได้
เทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยในการ ให้ความรู้แก่ประชาชนของแพทย์ หรือหน่วยงานสาธารณสุขต่างๆ เป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว ได้ผลขึ้น โดยสามารถใช้สื่อต่างๆ เช่นภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวมีเสียงและอื่นๆ เป็นต้น
เทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยให้ผู้บริหารสามารถกำหนดนโยบาย และติดตามกำกับการดำเนินงานตามนโยบายได้ดียิ่งขึ้น โดยอาศัยข้อมูลที่ถูกต้องฉับไว และข้อมูลที่จำเป็น ทั้งนี้อาจใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวเก็บข้อมูลต่างๆ ทำให้การบริหารเป็นไปได้ด้วยความรวดเร็ว ถูกต้องมากยิ่งขึ้น
ในด้านการให้ความรู้หรือการเรียน การสอนทางไกล เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะดาวเทียม จะช่วยให้การเรียนการสอนทางไกล ทางด้านการแพทย์และสาธารณะสุข เป็นไปได้มากขึ้นประชาชนสามารถเรียนรู้พร้อมกันได้ทั่วประเทศและ ยังสามารถโต้ตอบหรือถามคำถามได้ด้วย
            3.ตัวอย่าง
                                          ช่วยวินิจฉัยโรคและตรวจสอบอาการของคนไข้
                                   เก็บข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการรักษา
                                   กำรทดลองและวิจัยทางวิทยาศาสตร์
                                   การคำนวณและจำลองแบบ เพื่อสร้างผลงานทางวิทยาศาสตร์ใหม่ๆ
                                   ช่วยในการให้ความรู้แก่ประชาชนของแพทย์ หรือหน่วยงานสาธารณสุขต่างๆ
                                   การสนับสนุนการรักษาพยาบาลโดยการเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาล
       4.ข้อดีและข้อเสีย
        ข้อดี

  1.                  เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
  2.                เพิ่มผลผลิตยา
  3.                เพิ่มคุณภาพบริการรักษาพยาบาล
  4.                ผลิตสินค้าใหม่และขยายผลผลิต
  5.                สามารถสร้างทางเลือกเพื่อในการรักษามากขึ้น
  6.                สร้างโอกาสทางธุรกิจ
      ข้อเสีย
o   วงจรชีวิตของระบบสารสนเทศ เป็นระบบที่มีวงจรชีวิตค่อนข้างจำกัด อาจจะอธิบายได้ว่า เนื่องจาการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี รวมทั้งสภาพทางเศรษฐกิจและธุรกิจ
o   ลงทุนสูง เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่มีราคาแพง และส่วนมากไม่อาจจะนำไปใช้ได้ทันที แต่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจเสียก่อนจึงจะใช้ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

o   ก่อให้เกิดช่องว่าง เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้เกิดช่องว่างในการรับข่าวสารระหว่างคนจนกับคนรวย

 
สรุป  คือ ได้มีการนำคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในหน่วยงานต่าง ๆ เกือบทุกวงการ ทั้งภาครัฐและเอกชนไม่ว่าจะอยู่ในรูปของบุคคลหรือองค์กรใด ๆ ก็ตาม ฉะนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการศึกษาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ในหน่วยงานด้านการศึกษาก็มีความตื่นตัวและเปิดทำการเรียนการสอนในหลักสูตรดังกล่าว ทั้งในระดับ อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา และเป็นสาขาวิชาที่มีนักศึกษา ให้ความสนใจ กันมากเนื่องจากยังมีตลาดแรงงานรองรับมากนั่นเอง

ที่มา

ประยุกต์ใช้ในงานสาธารณสุขและการแพทย์

เทคโนโลยีทางการแพทย์ ประยุกต์ใช้ในงานสาธารณสุขและการแพทย์ 
เทคโนโลยีสารสนเทศได้รับการนำมาใช้ในการพัฒนา ด้านสาธารณสุขอย่างกว้างขวาง และทำให้งานด้าน สาธารณสุขเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยกระทรวงสาธารณสุข ได้ปรับระบบการบริหารงาน และนำเทคโนโลยี สารสนเทศมาใช้ในงานต่างๆ ดังนี้




รูปแสดงการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในวงการสาธารณสุขและการแพทย์
 ด้านการลงทะเบียนผู้ป่วย ตั้งแต่เริ่มทำบัตร จ่ายยา เก็บเงิน
 การสนับสนุนการรักษาพยาบาล โดยการเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาล ต่างๆ เข้าด้วยกัน สามารถสร้างเครือข่ายข้อมูลทางการแพทย์ แลกเปลี่ยนข้อมูลของผู้ป่วย
 สามารถให้คำปรึกษาทางไกล โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชำนาญ เทคโนโลยีสารสนเทศ จะช่วยให้แพทย์สามารถเห็นหน้า หรือท่าทางของผู้ป่วยได้ ช่วยให้ส่งข้อมูลที่เป็นเอกสาร หรือภาพเพื่อประกอบการพิจารณาของแพทย์ได้
 เทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยในการ ให้ความรู้แก่ประชาชนของแพทย์ หรือหน่วยงานสาธารณสุขต่างๆ เป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว ได้ผลขึ้น โดยสามารถใช้สื่อต่างๆ เช่นภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวมีเสียงและอื่นๆ เป็นต้น

 เทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยให้ผู้บริหารสามารถกำหนดนโยบาย และติดตามกำกับการดำเนินงานตามนโยบายได้ดียิ่งขึ้น โดยอาศัยข้อมูลที่ถูกต้องฉับไว และข้อมูลที่จำป็น ทั้งนี้อาจใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวเก็บข้อมูลต่างๆ ทำให้การบริหารเป็นไปได้ด้วยความรวดเร็ว ถูกต้องมากยิ่งขึ้น
 ในด้านการให้ความรู้หรือการเรียน การสอนทางไกล เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะดาวเทียม จะช่วยให้การเรียนการสอนทางไกล ทางด้านการแพทย์และสาธารณะสุข เป็นไปได้มากขึ้นประชาชนสามารถเรียนรู้พร้อมกันได้ทั่วประเทศและ ยังสามารถโต้ตอบหรือถามคำถามได้ด้วย




การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในด้านการแพทย์ หมายถึง วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์ในด้านการแพทย์ เช่น การตรวจ การรักษาพยาบาล และการป้องกันโรค ด้วยวิธีการต่าง ๆ ได้แก่

1. การพัฒนาเครื่องมือและอุปกรณ์ โดยอาศัยความรู้ด้านวิศวกรรมเป็น หลักในการผลิตเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง เช่น
1.1 เพื่อการตรวจและวินิจฉัยโรค เครื่องเอกซเรย์ เครื่องโทโมกราฟีแบบคอมพิวเตอร์เครื่องถ่ายภาพแบบนิวเคลียร์แมกนิติกเร โซแนน์อิมเมจเครื่องถ่ายภาพโดยเรดิโอกราฟฟี เครื่องอุลตราซาวด์ เครื่องตรวจการทำงานขอหัวเครื่องตรวจการรับฟังเสียง
1.2 เพื่อการรักษาพยาบาล มีดผ่าตัดเลเซอร์ เครื่องกรอคราบหินปูนที่ฟันโดยคลื่นเสียงความถี่สูง เครื่องนวดคลายความเมื่อยล้าโดยคลื่นเสียงความถี่สูง เครื่องฉายรังสี เครื่องควบคุมการให้ออกซิเจนในระหว่างการผ่าตัด เครื่องกระตุ้นการทำงานของหัวใจ แว่นตา คอนแทกเลนส์- การสร้างอวัยวะเทียม
1.3 เพื่อการป้องกันโรค เตาอบและตู้อบฆ่าเชื้อ การใช้รังสี เครื่องฉายรังสี อุปกรณ์สำรหับการสวมครอบหรือสอดใส่เข้าไปในรูหู
2. การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการผลิตยา สาร หรือวิธีการที่ใช้ในทางการแพทย์ ในการพัฒนาบางครั้งต้องอาศัยเทคโนโลยี เทคนิค และวิธีการต่างๆ เช่น เทคโนโลยีชีวภาพ และเทคนิคทางด้านวิศวกรรม ได้แก่ การพัฒนาวิธีการเพาะเลี้ยงเชื้อซึ่งเก็บตัวอย่างมาจากผู้ป่วย การสร้างเด็กหลอดแก้ว การหาสาเหตุและการรักษาโรคที่เกิดจากความบกพร่องทางพันธุกรรม อุตสาหกรรมการผลิตยา การผลิตเซรุ่ม การผลิตวัคซีนป้องกันโรค




เครื่องเอกซเรย์ระบบดิจิตอลสมบูรณ์
          การถ่ายภาพทางรังสีถือเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยวินิจฉัยโรคต่างๆ ของแพทย์ทุกคน แต่เดิมการ ถ่าย ภาพทางรังสีจะเป็นการใช้รังสีเอกซเรย์ ฉายผ่านตัวผู้ป่วยไปตกกระทบกับแผ่นฟิล์มโดย ตรง แล้วจึงนำไปล้าง เป่าให้แห้ง ก่อนได้ภาพเอกซเรย์เพื่อส่งให้รังสีแพทย์หรือแพทย์เจ้าของไข้ใช้ในการวินิจฉัยโรค
          ในปัจจุบัน ได้มีการคิดค้นเทคโนโลยีใหม่โดยการนำระบบคอมพิวเตอร์ทางการแพทย์ มาประยุกต์ ใช้ร่วมกับชุด รับภาพแบบดิจิตอล ( Digital Detector ) เพื่อสร้างภาพอย่างรวดเร็ว มีความแม่นยำ เห็นภาพเอกซเรย์ได้ทันทีหลังฉายรังสี ทำให้เจ้าหน้าที่หรือแพทย์ลดเวลาในการรอผล เพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการให้บริการของเจ้าหน้าที่และแพทย์




ข้อดีของเครื่องเอกซเรย์ระบบดิจิตอล
          1.  ลดปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับ
          2.  ภาพที่ได้มีคุณภาพดี มีความชัดเจน และมีเทคนิคพิเศษเพื่อช่วยในการวินิจฉัยได้แม่นยำ
          3.  สามารถทำการตรวจผู้ป่วยได้ในปริมาณมาก
          4.  ลดเวลาในการรอภาพเอกซเรย์
          5.  ลดอัตราการถ่ายซ้ำ
          6.  ลดต้นทุนในการซื้อวัสดุสิ้นเปลือง
อ้างอิง https://sites.google.com/site/rayartistan13/thekhnoloyi-sarsnthes-dan-kar-phaethy